การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ..
เมื่อ(ู้ป่วยได้รับสารพิษหรือยาเกินขนาด การช่วยชีวิตเบื้องต้นมีความสำคัญโดยเน้นการช่วยระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต แม้ว่าจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดพิษ การรักษาแบบประคับประคองถือว่าเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น แต่หากภาวะเป็นพิษนั้นมีการรักษาจำเพาะก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็วขึ้น หรือช่วยให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค และทำให้ผลการรักษาดีขึ้นกว่าการรักษาแบบประคับประคองเพียงอย่างเดียว
การรักษาแบบจำเพาะ แบ่งได้ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. การลดการปนเปื้อน
2. การเร่งการขับออก
3. การให้ยาต้านพิษ
4. การป้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับสารพิษซ้ำอีก
ดูรายละเอียด การลดการปนเปื้อน ที่เข้าใจง่ายๆ กันดีกว่านะคะ
การลดการปนเปื้อน เป็นขั้นตอนการรักษาที่สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในระยะแรก ให้การรักษาโดยขึ้นอยู่กับทางที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษ
ได้รับทางผิวหนัง ให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารเคมีออกทันที ล้างตามตัวและทุกส่วนของร่างกายโดยให้น้ำสะอาดไหลผ่าน หากสารนั้นเป็นพวกน้ำมันหรือไฮโดรคาร์บอนควรใช้สบู่อ่อน ๆ ร่วมด้วยเพื่อชะล้างสารเคมีออกให้มากที่สุด
ได้รับทางตา ล้างตาทันทีด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลืออย่างน้อย 20 นาที อาจจะหยอดยาชาก่อนเพื่อให้้สามารถล้างสารเคมีออกจากตาให้มากที่สุด กรณีได้รับสารที่เป็นกรดหรือด่างควรล้างนานขึ้นอาจถึง 1-2 ชั่วโมง หรือจน pH ในถุงน้ำตาปกติ
ได้รับทางการหายใจ ย้ายผู้ป่วยให้อยู่ในที่ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงให้ทำการช่วยหายใจ ห้ามใช้วิธีการช่วยหายใจแบบปากต่อปาก เพราะอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ช่วยชีวิตเองได้ ให้ใช้ท่อช่วยหายใจ ให้ออกซิเจน
ได้รับทางปาก พิจารณาร่วมกับประวัติ ชนิดและปริมาณสารพิษ เวลาหลังจากกินสารพิษ และอาการผู้ป่วย
1. การล้างสารพิษด้วยการใส่สายสวนกระเพาะอาหาร รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษมาแล้วไม่เกิน 1 ชม. พิจารณาใส่สายสวนกระเพาะอาหารเพื่อล้างสารพิษออกด้วยนำ้ประปาหรือใช้ normal saline หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือได้รับสารพิษที่มีฤทธิ์กดประสาท ต้องใส่ท่อช่วยหายใจก่อนจึงใส่สายสวนกระเพาะอาหาร แต่ห้ามใช้วิธีนี้หารได้รับสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กรด ด่าง
2. การให้ผงถ่านกัมมันต์เพียงครั้งเดียว จะช่วยดูดซับสารพิษไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษในช่วง 1 - 4 ชม.แรก ห้ามให้ผงถ่านกัมมันต์ ในกรณีต่อไปนี้ ไม่มีการป้องกันระบทางเิดินหายใจและผู้ที่มีกายภาคของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ได้รับสารกลุ่มกัดกร่อนและกลุ่มไฮโดรคาร์บอน หรือสารพิษที่ไม่ถูกดูดซับด้วยผงถ่านกัมมันต์ เช่น โลหะหนัก แอลกอฮอล์ทุกชนิด
3. การล้างสารพิษตลอดลำไส้ เป็นการให้สารละลายอิเล็คโทรไลต์ของโพลีเอทธิลีนไกลคอล ที่มีนำ้หนักโมเลกุลมากว่า 3000 ดาลตัน ทางสายสวนกระเพาะอาหารจนกระทั่งผู้ป่วยถ่ายอุจจาระเป็นน้ำใส
รอดูการรักษาแบบเร่งการขับออก และการให้ยาต้านพิษ ในหัวข้อต่อไปนะคะ
เอกสารอ้างอิง
1. จารุวรรณ ศรีอาภา บรรณาธิการ. ยาต้านพิษ 3. กรุงเทพฯ:ศรีเมืองการพิมพ์;2556